วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชายหาด BEACH

ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีพื้นที่ทะเลทั้งหมด 23 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดทางฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด และฝั่งอ่าวไทย 17 จังหวัด
จังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุด คือ ประจวบคีรีขันธ์ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 251 กิโลเมตร ในขณะที่กรุงเทพฯ มีชายฝั่งทะเลสั้นที่สุด คือ 5.5 กิโลเมตร อยู่ในเขตบางขุนเทียน

ข้อมูลจังหวัดชายทะเลประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ที่ตั้ง พื้นที่ และประชากร





 

จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันตก จากการค้นพบของนักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์วานรมาก่อน จากหนังสือประวัติศาสตร์พัฒนาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดพังงามีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า การขุดค้นทางโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนทับปริกของ ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน พบหลักฐานซึ่งมีอายุระหว่าง 27,000 –37,000 ปีมาแล้ว และ ดร.สุรินทร์  ภู่ขจร ได้ขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว พบหลักฐานที่มีอายุใกล้เคียงกัน แสดงว่าในระยะเวลาดังกล่าวได้มีมนุษย์เคลื่อนย้ายมาอาศัยแหล่งถ้ำทั่วไปในอ่าวพังงา –กระบี่มาแล้ว
                จังหวัดกระบี่ในยุคตอนต้นรัตนโกสินทร์นั้น เป็นเมืองที่อยู่ในความดูแลของอาณาจักรนครศรีธรรมราช แต่เดิมนั้นตั้งชุมชนอยู่ที่ปากคลองปกาไส และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่อำนวยต่อการขยายตัวของชุมชน และเพราะห่างจากทะเลพอสมควร เรือใหญ่เข้าออกไม่สะดวก ชุมชนจึงได้พากันย้ายไปอยู่ที่บริเวณบ้านหินขวาง ปากคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งมีร่องน้ำลึกและกว้างขวาง การคมนาคมสะดวกกว่า ชาวบ้านเรียกที่ใหม่นี้ว่า “ค่ายหินขวาง”ตามชื่อบ้าน
                ในปี พ.ศ.2415 ในช่วงนั้นการขยายตัวของชุมชนต่าง ๆ มีมากขึ้น ทางการจึงได้รวมแขวงต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกัน คือ แขวงปากลาวในเขตช่วงต่อกับจังหวัดพังงา แขวงคลองพนในเขตคลองท่อมและแขวงปกาไสขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองกระบี่”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองคนแรก






วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก]
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยาภูเก็ตกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน