วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันภาษาไทย
วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย ทำให้ผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นประทับใจ[1] [2] พระราชดำรัสตอนหนึ่งว่ารามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก
ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ
และสำเนียง ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงขลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน
นเหนือ ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้
และสำเนียง ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงขลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน
อีสาน ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
ภาษาถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาถิ่นใต้ ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ตรัง สตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานีและชุมพร และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป
|
ดอกไม้ประจำชาติไทย
จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494 โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ
กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ เรือสุพรรณหงส์ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกพุทธรักษา แมวไทย เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา
ปี พ.ศ.2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย
ข้อสรุปเรื่องสัญลักษณ์ประจำชาติดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจน กระทั่งช่วงปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนออีกครั้ง และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่งคือ ดอกไม้ สัตว์และสถาปัตยกรรม และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนดดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกราชพฤกษ์ สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย
เหตุที่เลือก ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน คือ เป็นดอกไม้จากต้นไม้ที่ถูกเสนอให้เป็นต้นไม้ประจำชาติเมื่อครั้งที่กรมป่าไม้เสนอไว้ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ทนทาน ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค เช่น ลมแล้ง คูน อ้อดิบ ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น ลงหลักเมือง ลงเสาเอก ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ในช่วงฤดูร้อนราชพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งทั้งต้น ช่อดอกมีรูปทรงสวยงาม สีเหลืองอร่ามเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ รวมทั้งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นอกจากนี้ความงามของช่อดอก และความหมายที่ดียังถูกจำลองแบบประดับไว้บนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือนอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
- พืชพรรณไม้มงคล ส.พลายน้อย บริษัท รวมสาส์น (1977) จำกัด
- เดลินิวส์วาไรตี้ พงษ์พรรณ บุญเลิศ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2544
- ไม้ต้นประดับดอก ชุดคู่มือคนรักต้นไม้ วชิรพงศ์ หวลบุตตา สำนักพิมพ์บ้านและสวน
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดัคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็มปลาร้า ปลาเจ่า
อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย[3]บที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 ]
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
การเลี้ยงกระต่าย
กระต่ายจัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในตระกูล Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่ กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ดังไปนี้
1. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ (New Zealand White)
เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่ เนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม
2. พันธุ์แคลิฟอร์เนียน (Californian)
มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม
3. พันธุ์แองโกร่า (AngOra) เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่นๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้ หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม
4. พันธุ์พื้นเมือง
มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพ แวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์ กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก
อาหารกระต่าย
อาหารมีความส่าคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระะต่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกระต่าย อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อาหารหยาบ (Roughage)
หมายถึงอาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยี่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไป และเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืช ตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วชีราโต ถั่วไกลซีน ถั่วเทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้น พืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้
อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ดวรหั่นเป็นท่อน ๆให้ยาวพอควร
2. อาหารข้น (Concentrate)
แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัย อาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลิตผลเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น (Concentrates) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารขันนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คืออาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล (คาร์ไบ ไฮเดรต) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเสน และไขมัน จากพืชหรือสัตว์
อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น
ส่าหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายที่ไม่ได้เสริมด้ยอาหารข้น ควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกใน การกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย
3. อาหารส่าเร็จรูป (Complete feed)
เกิดจากการนำอาหารข้นและอาหารหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหาร สำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการ เลี่ยงโดยทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหาร สำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
วิธีจับกระต่าย
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นการจับกระต่ายจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลและ ถูกวิธีเพื้อความปลอดภัยของตัวกระต่ายและตัวผู้จับด้วย ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหู เพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บปวด และอาจเป็นสาเหตทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้
1. ลูกกระต่าย ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคง แล้วยกขึ้นตรงๆ
2. กระต่ายขนาดกลาง ใช้มือขวา (หรือมือที่ถนัด) จับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้นให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ
3. กระต่ายใหญ่ ใช้มือขวาจับแบบวิธีที่ 2 แล้วยกอ้อมขึ้นมาทางช้ายมือใช้แขนช้าย หนีบให้แนบชิดลำตัวโดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับ และขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ
โรคของกระต่าย
1. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้
หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์
ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที
ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง
มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง
2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้
ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์
ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
3. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )
4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด
อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน
5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ
6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล
7. ไรในหู (ear mange or ear canker) เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดีๆ จะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น
การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ
8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei, var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู
กระต่ายจัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในตระกูล Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่ กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ดังไปนี้
1. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ (New Zealand White)
เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่ เนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม
2. พันธุ์แคลิฟอร์เนียน (Californian)
มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม
3. พันธุ์แองโกร่า (AngOra) เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่นๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้ หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม
4. พันธุ์พื้นเมือง
มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพ แวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์ กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก
อาหารกระต่าย
อาหารมีความส่าคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระะต่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกระต่าย อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อาหารหยาบ (Roughage)
หมายถึงอาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยี่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไป และเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืช ตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วชีราโต ถั่วไกลซีน ถั่วเทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้น พืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้
อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ดวรหั่นเป็นท่อน ๆให้ยาวพอควร
2. อาหารข้น (Concentrate)
แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัย อาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลิตผลเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น (Concentrates) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารขันนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คืออาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล (คาร์ไบ ไฮเดรต) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเสน และไขมัน จากพืชหรือสัตว์
อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น
ส่าหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายที่ไม่ได้เสริมด้ยอาหารข้น ควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกใน การกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย
3. อาหารส่าเร็จรูป (Complete feed)
เกิดจากการนำอาหารข้นและอาหารหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหาร สำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการ เลี่ยงโดยทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหาร สำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
วิธีจับกระต่าย
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นการจับกระต่ายจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลและ ถูกวิธีเพื้อความปลอดภัยของตัวกระต่ายและตัวผู้จับด้วย ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหู เพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บปวด และอาจเป็นสาเหตทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้
1. ลูกกระต่าย ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคง แล้วยกขึ้นตรงๆ
2. กระต่ายขนาดกลาง ใช้มือขวา (หรือมือที่ถนัด) จับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้นให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ
3. กระต่ายใหญ่ ใช้มือขวาจับแบบวิธีที่ 2 แล้วยกอ้อมขึ้นมาทางช้ายมือใช้แขนช้าย หนีบให้แนบชิดลำตัวโดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับ และขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ
โรคของกระต่าย
1. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้
หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์
ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที
ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง
มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง
2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้
ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์
ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
3. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )
4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด
อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน
5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ
6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล
7. ไรในหู (ear mange or ear canker) เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดีๆ จะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น
การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ
8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei, var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ระนอง หรือเมืองแร่นอง เดิมเป็นหัวเมืองเล็กๆ มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น2 เมือง คือ เมืองระนอง และเมืองตระ ซึ่งอยู่ในการปกครองของเมืองชุมพร
เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง เรียกชื่อตามนามเมืองว่า "หลวงระนอง" ครั้นต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนฮกเกี้ยน ชื่อ " คอซู้เจียง " ได้ยื่นขอประมูลอากรดีบุกในเขตเมืองระนองและเมืองตระ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดอนุญาตพร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้คอซู้เจียงเป็น หลวงรัตนเศรษฐี ดำรงตำแหน่งนายอากรเมืองตระ และ เมืองระนอง
ในปี 2397 ตำแหน่งเจ้าเมืองระนองว่างลง เนื่องจากหลวงระนองป่วยถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เป็นเจ้าเมืองระนอง เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และรัฐบาลอังกฤษได้จัดการปกครองหัวเมือง ที่ได้ไปจากพม่าเข้มงวดกวดขันขึ้น โดยลำดับมาถึงเขตต่อแดนพระราชอาณาเขตทางทะเลตะวันตก
ในปี 2397 ตำแหน่งเจ้าเมืองระนองว่างลง เนื่องจากหลวงระนองป่วยถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เป็นเจ้าเมืองระนอง เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และรัฐบาลอังกฤษได้จัดการปกครองหัวเมือง ที่ได้ไปจากพม่าเข้มงวดกวดขันขึ้น โดยลำดับมาถึงเขตต่อแดนพระราชอาณาเขตทางทะเลตะวันตก
ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเมืองระนองและเมืองตระ เป็นเมืองขึ้นอยู่ในเมืองชุมพรจะรักษาราชการทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรดฯ ให้ยกเมืองตระและเมืองระนอง เป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี เป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ พ.ศ. 2405 และ ในปี พ.ศ. 2420 สมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระ และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดและได้มีการยุบเมืองตระเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอกระบุรีโดยให้ขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมา ระนองในอดีตนั้นมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองดีบุก เมืองชายแดน เมืองคอคอดกระ และเมืองเสด็จประทับแรม ดังนี้
- เมืองดีบุก ระนองมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีชื่อเรียกกันในสมัยโบราณว่าตะกั่วดำหรือดีบุกอยู่ใต้แผ่นดินเป็นจำนวนมาก จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองดีบุกมีแร่ดีบุกมีค่าอุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองแรกที่มีเจ้าของเหมืองแร่ (นายนอง) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระนอง เจ้าเมืองคนแรก ซึ่งเป็นนายอากรแต่โบราณ ในการผูกขาดส่งอากรดีบุกให้รัฐบาล นับว่าได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
- เมืองชายแดน
การที่ไทยต้องเสียดินแดนเมืองมะริดรวมทั้งเมืองมะลิวัลย์แก่อังกฤษและได้มีการปักปันเขตแดนไทย โดยใช้แม่น้ำกระบุรีเป็นเส้นกั้นพรมแดนในปี พ.ศ. 2442มีผลให้เมืองระนอง และเมืองตระ ซึ่งมีฐานะเป็นอำเภอในปกครองของจังหวัดระนอง มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองขึ้นของอังกฤษทางด้านทะเลตะวันตก และมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์รวมของการไปมาหาสู่และซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับพม่าซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อพม่าได้รับเอกราชพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษการไปมาหาสู่และการซื้อขายสินค้าระหว่างคนไทยและพม่าทางชายแดนจังหวัดระนองนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ให้จังหวัดชายแดนทั้งสองประเทศจนถึงปัจจุบัน - เมืองคอคอดกระ
พื้นที่บริเวณคอคอดกระ เป็นผืนแผ่นดินที่กิ่วหรือแคบที่สุดในแหลมมลายู ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร พื้นที่ด้านตะวันตกของบริเวณคอคอดกระ ตั้งอยู่ในเขตปกครองของเมืองตระ มาแต่เดิม ผืนแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดระหว่างทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออกแห่งนี้ มีภูเขาสลับซับซ้อนมีทางลัดผ่านช่องเขาเพียงสายเดียว ในสมัยโบราณคอคอดกระ มีความสำคัญเป็นเส้นทางที่สำคัญทางเดียวที่พม่าใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ ยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งทะเลตะวันออก เมื่อฝรั่งเศสคิดจะขุดคลองกระจากเมืองตระไปออกเมืองชุมพร เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินเรือจากยุโรปไปเมืองจีนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคอคอดกระจึงมีความสำคัญมากขึ้น หากสามารถขุดคลองได้สำเร็จ เรือเดินทะเลจากยุโรป จะผ่านคลองไปเมืองจีนได้ โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู ผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษทางเมือง ปีนังและสิงคโปร์ และความจำเป็นทางด้านการทหารของอังกฤษ คงมีผลให้ไทยต้องเสียดินแดนทางแหลมมลายู ด้วยเหตุดังกล่าวประกอบกับการขุดคลองกระ จึงจำเป็นต้องขุดแม่น้ำกระบุรี ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทยกับพม่าของอังกฤษให้กว้างลึกเข้าไปในดินแดนอันอยู่ในอำนาจของอังกฤษด้วย เมื่ออังกฤษไม่ยอม จึงขุดคลองคอคอดกระไม่ได้ ความคิดที่จะขุดคลองกระ จึง ล้มเลิกไป อังกฤษจึงได้กำหนดเป็นข้อผูกพันไว้ในสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษมิให้ไทยขุดคลองดังกล่าวโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากของอังกฤษก่อน การขุดคลอง ณ บริเวณคอคอดกระ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง แต่กระทบต่อความมั่นคง ของชาติทางด้านการทหาร บริเวณคอคอดกระเหมาะสมแก่การขุดคลองเพียงไร คุ้มค่าในการลงทุน แค่ไหนเป็นเรื่องที่ควรแก่การศึกษา คอคอดกระจึงยังอยู่ในความสนใจทั้งทางราชการและประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน - เมืองเสด็จประทับแรม
พระมหากษัตริย์ไทยในอดีต และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรม ณ จังหวัดระนอง ตามลำดับดังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ผ่านเมืองตระไปประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ บนเขานิเวศน์คีรี เมืองระนอง 3 ราตรี ในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก ประทับแรม ณ จังหวัดระนอง เมื่อ พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองระนอง และประทับแรม ณ จังหวัดระนอง 3 ราตรี ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรจังหวัดระนอง ประทับแรม ณ จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรท้องที่จังหวัดระนอง เป็นการส่วนพระองค์ และทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลา ที่อำเภอกระบุรี รวมทั้งประทับแรม เป็นเวลา 2 ราตรี เมื่อวันที่ 29-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 และเมื่อวันที่ 21พฤษภาคม พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จนำคณะ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มาทัศนศึกษาประกอบหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ณ จังหวัดระนอง
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ชายหาด BEACH
ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีพื้นที่ทะเลทั้งหมด 23 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดทางฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด และฝั่งอ่าวไทย 17 จังหวัด
จังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุด คือ ประจวบคีรีขันธ์ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 251 กิโลเมตร ในขณะที่กรุงเทพฯ มีชายฝั่งทะเลสั้นที่สุด คือ 5.5 กิโลเมตร อยู่ในเขตบางขุนเทียน
ข้อมูลจังหวัดชายทะเลประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ที่ตั้ง พื้นที่ และประชากร
จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันตก จากการค้นพบของนักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์วานรมาก่อน จากหนังสือประวัติศาสตร์พัฒนาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดพังงามีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า การขุดค้นทางโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนทับปริกของ ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน พบหลักฐานซึ่งมีอายุระหว่าง 27,000 –37,000 ปีมาแล้ว และ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร ได้ขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว พบหลักฐานที่มีอายุใกล้เคียงกัน แสดงว่าในระยะเวลาดังกล่าวได้มีมนุษย์เคลื่อนย้ายมาอาศัยแหล่งถ้ำทั่วไปในอ่าวพังงา –กระบี่มาแล้ว
จังหวัดกระบี่ในยุคตอนต้นรัตนโกสินทร์นั้น เป็นเมืองที่อยู่ในความดูแลของอาณาจักรนครศรีธรรมราช แต่เดิมนั้นตั้งชุมชนอยู่ที่ปากคลองปกาไส และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่อำนวยต่อการขยายตัวของชุมชน และเพราะห่างจากทะเลพอสมควร เรือใหญ่เข้าออกไม่สะดวก ชุมชนจึงได้พากันย้ายไปอยู่ที่บริเวณบ้านหินขวาง ปากคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งมีร่องน้ำลึกและกว้างขวาง การคมนาคมสะดวกกว่า ชาวบ้านเรียกที่ใหม่นี้ว่า “ค่ายหินขวาง”ตามชื่อบ้าน
ในปี พ.ศ.2415 ในช่วงนั้นการขยายตัวของชุมชนต่าง ๆ มีมากขึ้น ทางการจึงได้รวมแขวงต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกัน คือ แขวงปากลาวในเขตช่วงต่อกับจังหวัดพังงา แขวงคลองพนในเขตคลองท่อมและแขวงปกาไสขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองกระบี่”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองคนแรก
จังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุด คือ ประจวบคีรีขันธ์ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 251 กิโลเมตร ในขณะที่กรุงเทพฯ มีชายฝั่งทะเลสั้นที่สุด คือ 5.5 กิโลเมตร อยู่ในเขตบางขุนเทียน
ข้อมูลจังหวัดชายทะเลประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ที่ตั้ง พื้นที่ และประชากร
จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันตก จากการค้นพบของนักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์วานรมาก่อน จากหนังสือประวัติศาสตร์พัฒนาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดพังงามีข้อความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า การขุดค้นทางโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียนทับปริกของ ดร.ดักลาส ดี.แอนเดอร์สัน พบหลักฐานซึ่งมีอายุระหว่าง 27,000 –37,000 ปีมาแล้ว และ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร ได้ขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว พบหลักฐานที่มีอายุใกล้เคียงกัน แสดงว่าในระยะเวลาดังกล่าวได้มีมนุษย์เคลื่อนย้ายมาอาศัยแหล่งถ้ำทั่วไปในอ่าวพังงา –กระบี่มาแล้ว
จังหวัดกระบี่ในยุคตอนต้นรัตนโกสินทร์นั้น เป็นเมืองที่อยู่ในความดูแลของอาณาจักรนครศรีธรรมราช แต่เดิมนั้นตั้งชุมชนอยู่ที่ปากคลองปกาไส และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่อำนวยต่อการขยายตัวของชุมชน และเพราะห่างจากทะเลพอสมควร เรือใหญ่เข้าออกไม่สะดวก ชุมชนจึงได้พากันย้ายไปอยู่ที่บริเวณบ้านหินขวาง ปากคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งมีร่องน้ำลึกและกว้างขวาง การคมนาคมสะดวกกว่า ชาวบ้านเรียกที่ใหม่นี้ว่า “ค่ายหินขวาง”ตามชื่อบ้าน
ในปี พ.ศ.2415 ในช่วงนั้นการขยายตัวของชุมชนต่าง ๆ มีมากขึ้น ทางการจึงได้รวมแขวงต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกัน คือ แขวงปากลาวในเขตช่วงต่อกับจังหวัดพังงา แขวงคลองพนในเขตคลองท่อมและแขวงปกาไสขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองกระบี่”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองคนแรก
วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก]
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)