วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

  ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ 
และสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงขลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  นครปฐม  อ่างทอง   และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน 

นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้

 อีสาน   ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น

 ภาษาถิ่นใต้  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป 

 ภาษามาตรฐาน เป็น ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการพูดและการเขียน ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสารเข้าใจกันทั้งประเทศด้วยสำนวน และสำเนียงเดียวกัน ใช้ติดต่อสื่อสารในวงราชการ สถานศึกษาและสถาบันสำคัญในสังคม ในสถานการณ์ ที่เป็นทางการ ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับ ให้เป็นภาษามาตรฐานนั้น มักจะเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสาร กันอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ดังเช่น ภาษามาตรฐานของไทยก็ คือ ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร  ภาษามาตรฐานมีลักษณะดังนี้
ี้
        1)  เป็นภาษาที่ได้รับการเลือกเฟ้น ภาษามาตรฐานเป็นภาษาถิ่นที่ได้รับการเลือกเฟ้น
จากภาษาถิ่นของบุคคลในถิ่นที่มีบทบาทในการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมแล้วยกระดับ มาตรฐาน ให้ทุกคนใช้เหมือนกันและเข้าใจตรงกัน นอกจากนี้ภาษาถิ่นนั้นจะต้องมี ลักษณะผสมผสาน เอาลักษณะ ของภาษาถิ่นอื่น ๆ ไว้ด้วย
       
        2)  เป็นภาษาที่ได้รับการรวบรวมหลักเกณฑ์ระเบียบของภาษาไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นักวิชาการจะต้อง จัดทำพจนานุกรมและตำราหลักภาษาไว้เป็นหลักในการตรวจสอบ และผู้ใช้ยอมรับ ในหลักของภาษา มีการสอน ให้ผู้ใช้ ้รู้หลักเกณฑ์การเขียน การอ่านให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

        3)  เป็นภาษาที่ใช้ได้ทุกวงการและทุกสาขาอาชีพ เป็นภาษาที่คนหลายกลุ่มหลายหน้าที่นำไปใช้ได้ และผู้ใช้ภาษา เข้าใจตรงกันทั้งการพูดและการเขียน เช่น ในศาล ในรัฐสภา ในวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ การเมืองการปกครอง วิชาการแขนงต่าง ๆ ศิลปกรรม ดนตรีนาฏศิลป์ วรรณคดี และวรรณกรรม เป็นต้น

        4)  เป็นภาษาที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของสังคม และเทคโนโลยี มีการเพิ่มคำด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทับศัพท์ การประสมคำ หรือบัญญัติศัพท์ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ในการใช้และสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย
              
         5)  เป็นภาษาที่เป็นที่ยอมรับของคนถิ่นอื่นว่าเป็นภาษาประจำชาติเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่าง จากภาษาถิ่นทั่วไป เป็นเอกลักษณ์ของชาติ สร้างความภูมิใจแก่คนในชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น